มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จ.กาญจนบุรี

รับสมัครนักศึกษาใหม่

ระดับปริญญาตรี และระบบ Pre-Degree

มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา รับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวนไม่จำกัดอายุ รับทุกเพศทุกวัย ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน

Time line การรับสมัครนักศึกษาใหม่
1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 2567 รับสมัครผ่านทางอินเทอร์เน็ต
1 เม.ย. – 21 มิ.ย. 2567 รับสมัครทางไปรษณีย์ (เฉพาะผู้ที่ไม่ใช้สิทธิ์เทียบโอนหน่วยกิต)
16 – 19 พ.ค. 2567 รับสมัคร รอบที่ 1 ณ สาขาวิทยบริการฯ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.30 น.
27 – 30 มิ.ย. 2567 รับสมัคร รอบที่ 2 ณ สาขาวิทยบริการฯ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.30 น.

คณะที่เปิดสอน

หลักสูตร 4 ปี
นักศึกษาสามารถใช้เวลาเรียนให้จบการศึกษาเร็วกว่าหรือช้ากว่าที่กำหนดก็ได้ โดยนักศึกษามีสิทธิลงทะเบียนเรียนอย่างต่อเนื่องได้ถึง 8 ปีการศึกษา(สำหรับหลักสูตร 4 ปี) คำว่า “อย่างต่อเนื่อง” หมายถึงมีการลงทะเบียนเรียนติดต่อกันเพื่อคงสถานภาพการเป็นนักศึกษาไว้ ไม่ให้ขาดสถานภาพจนกว่าจะเรียนจบจริงๆ

สาขาวิชานิติศาสตร์
เรียน 140 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเอกบริหารรัฐกิจ
เรียน 126 หน่วยกิต

สาขาวิชาการจัดการ
เรียน 132 หน่วยกิต

นิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล
เรียน 126 หน่วยกิต

สมัรครั้งแรกไม่เกิน 4,000 บาท

หน่วยกิตละ 50 บาท
(กรณีลงทะเบียนเรียนตามแผนและไม่รวมค่าหนังสือ)

ชำระได้ทั้งเงินสดและ QR CODE

คณะนิติศาสตร์

กรณีลงทะเบียนเรียนตามแผน 6 วิชา 17 หน่วยกิต
3,601 บาท

คณะบริหารธุรกิจ

กรณีลงทะเบียนเรียนตามแผน 8 วิชา 21 หน่วยกิต
3,930 บาท

คณะรัฐศาสตร์

กรณีลงทะเบียนเรียนตามแผน 5 วิชา 15 หน่วยกิต
3,450 บาท

คณะสื่อสารมวลชน

กรณีลงทะเบียนเรียนตามแผน 5 วิชา 15 หน่วยกิต
3,450 บาท

โปรดทราบ:

จำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน นักศึกษาปริญญาตรีและ Pre-degree มีหลักเกณฑ์เหมือนกัน
1. นักศึกษารหัส 60xx เป็นต้นไป ภาคเรียนที่ 1, ภาคเรียนที่ 2 ลงทะเบียนอย่างน้อย 9 หน่วยกิต สูงสุดไม่เกิน 22 หน่วยกิต (วันสอบห้ามซ้ำซ้อนกัน ยกเว้นภาคที่ขอจบการศึกษา)
2. ภาคฤดูร้อนลงทะเบียนได้ 9 หน่วยกิต ภาคที่ขอจบการศึกษา สามารถลงทะเบียนสอบซ้ำซ้อนได้ สูงสุดไม่เกิน 30 หน่วยกิต โดยไม่นับรวมกระบวนวิชาที่ยังไม่ทราบผลการสอบที่ลงทะเบียนเรียนไว้ก่อนภาคนี้ (และถ้ามีกระบวนวิชาที่วันเวลาและคาบสอบตรงกัน ให้นักศึกษาเข้าห้องสอบซ้ำซ้อน (สอบซ้ำซ้อนได้ไม่เกิน 4 วิชา)
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา

ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) Bachelor of Political Science (B.Pol.Sc.) แผนการบริหารรัฐกิจ (Plan C)
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ ระบบ และระบอบการเมืองการปกครอง การเปรียบเทียบการเมืองการปกครองในประเทศ ต่างประเทศ ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานบุคคลในองค์กรต่างๆกระบวนการทางสังคม

ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration : B.B.A) สาขาการจัดการ
ศึกษาแนวคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และน่าเชื่อถือในเรื่องของการเงิน การค้า ทางธุรกิจ ควบคุม กำกับ ดูแลเรื่องบัญชีในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

ชื่อปริญญา นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) Bachelor of Laws (LL.B.)
สาขาวิชานิติศาสตร์
เนื้อหาวิชาที่ศึกษา

ศึกษากฎหมายพื้นฐานต่างๆที่มีความสำคัญและจำเป็น เช่น หลักกฎหมายมหาชน หลักกฎหมายเอกชน ฯลฯ และให้มีความรู้ ความชำนาญมากขึ้นทางด้านกฎหมายโดยเฉพาะในสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น กฎหมายธุรกิจ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล)
ศศ.บ.(สื่อสารมวลชน) Bachelor of Arts (Communication Arts and Digital Media) B.A. (Communication Arts and Digital Media

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสื่อดิจิทัล เพื่อการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในยุคดิจิทัลโดยมุ่งเน้นเป็นหลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาที่ผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วยความรู้ คุณธรรม-จริยธรรม ทักษะเชิงวิชาชีพ ทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ ตลอดจนทักษะเชิงเทคโนโลยีที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก

การเรียนการสอน

ระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงดำเนินการศึกษาแบบทวิภาค (semester system) โดย แบ่งเวลาศึกษาในปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาค 1 (First semester) และภาค 2 (Second semester) และภาคฤดูร้อน (Summer session) ภาค 1 และภาค 2 ใช้เวลาภาคละ 18 สัปดาห์(เรียนในชั้น 16 สัปดาห์ กับสอบไล่ 2 สัปดาห์) และภาคฤดูร้อน เรียน 8 สัปดาห์ (เรียนในชั้น 7 สัปดาห์ กับสอบไล่ 1 สัปดาห์) *ภาคฤดูร้อน นักศึกษาจะไม่ลงทะเบียนเรียนก็ได้

มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา ดั้งนั้นโครงสร้างหลักสูตรต่าง ๆ ที่เปิดสอนในส่วนภูมิภาคจึงเอื้อประโยชน์กับผู้ที่ไม่มีเวลาเข้าห้องฟังบรรยาย วันสอบก็เป็นวันเสาร์ – อาทติย์ และมีศูนย์สอบให้เลือกทั่วประเทศ 41 ศูนย์สอบ *ยกเว้นกรุงเทพฯ , การลงทะเบียนเรียนก็ทำผ่านทาง Internet หรือ Mobile App และมีรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย ดังนี้ช่องทางต่อไปนี้

ศึกษาด้วยตนเองโดยการอ่านหนังสือ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยจัดให้
ฟังบรรยายสดผ่าน cyberclassroom (วันบรรยายวัน จันทร์ – ศุกร์ บรรยายตามตารางเรียนของภาคเรียนนั้น ๆ )
ฟังบรรยายสรุป google classroom (บรรยายสรุป วันเสาร์ – อาทติย์ บรรยายตามตารางเรียนของภาคเรียนนั้น ๆ)
ฟังวีดีโอการบรรยายย้อนหลังที่ www.m-learning.ru.ac.th

โปรดทราบ:

 เมื่อผู้สมัครมีสถานะการเป็นนักศึกษาแล้ว สามารถเข้าฟังบรรยายที่ห้องเรียน และใช้สื่อการถ่ายทอดสดและวิดีโอย้อนหลังได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครอบคลุมสิทธิ์การใช้งานแล้ว ยกเว้น สื่อประเภท หนังสือเรียน/ตำราเรียน และวิดีโอบรรยายสรุปการสอนจากสำนักเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษาต้องจัดซื้อด้วยตนเอง จะซื้อหรือไม่ก็ได้ ไม่บังคับ

เป็นการเรียนปริญญาตรีล่วงหน้ายังไม่ได้สังกัดคณะใด เลือกลงทะเบียนเรียนวิชาใดๆ ก็ได้ของคณะที่สนใจ โดยที่น้องๆ จะต้องใช้วุฒิการศึกษาชั้น ม.3 มาสมัคร และจะต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.ปลาย ปวช. ปวส. หรือ กศน. จากนั้นเมื่อน้องๆ เรียนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือเทียบเท่าแล้วก็สามารถเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมเอาไว้ไปเรียนในภาคปกติของมหาวิทยาลัยได้

พรีดีกรีเหมาะสมสำหรับน้อง ๆ นักเรียนอยู่ ม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) ที่ต้องการสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า เพื่อจะได้จบปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เร็วขึ้น ทำให้มีโอกาสในชีวิตที่เร็วกว่าเพื่อนที่เรียนแบบปกติ

เทียบโอนหน่วยกิต

เปิดโอกาศให้ผู้มีมีวุฒิอนุปริญญาขึ้นไปได้ศึกษาเพิ่มเติมหรือเรียนปริญญาใบที่ 2 โดยสามารถเทียบโอนหน่วยกิต หรือผู้ที่เคยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอื่น แต่ไม่สำเร็จการศึกษาก็สามารถเทียบโอนกรณี “โอนย้ายต่างสถาบัน” ได้ วุฒิที่สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้มีดังนี้

จบการศึกษาจากสถาบันอื่น
รับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาเป็นต้นไป ได้แก่ จบการศึกษาระดับ ปวส., ปริญญาตรีเป็นต้นไป
โอนย้ายสถาบันการศึกษา
รับสมัครผู้ที่เคยเรียนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถาบันต่าง ๆ ที่สำนักงาน ก.พ. หรือ กระทวงศึกษาธิการ หรือ สภา มหาวิทยาลัยรามคำแหงรับรอง และมีหน่วยกิตสะสมใน ระดับ C ขึ้นไป แต่ไม่จบการศึกษา (รีไทร์, ลาออก,​ ซิ่ล) สามารถโอนย้ายหน่วยกิตมาเรียนต่อที่ ม.รามคำแหงได้
หมดสถานภาพนักศึกษาจาก ม.รามคำแหง
หมายถึง นักศึกษาเก่ารามคำแหง ที่ขาดสถานภาพ, ครบ 8 ปียังไม่จบ, หมดสถานภาพ แต่มีหน่วยกิตที่เคยสะสมเอาไว้ ให้เทียบโอนประเภทนี้
เทียบโอนหน่วยกิต 2 สถาบัน
ผู้ที่เคยสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงมาก่อน และจบการศึกษาจากสถาบันอื่น ๆ แล้ว(เช่น จบปวส. จบปริญญาตรี ในลำดับต่อมา) และต้องการนำหน่วยกิตทั้งสองแห่งมารวมกัน ให้เลือกสมัครประเภทนี้
เทียบโอน Pre-degree ม.รามคำแหง
เมื่อนักศึกษาพรีดีกรี เรียนจบชั้น ม.6 เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นสมัครด้วยวุฒิ ม.6 พร้อมเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมล่วงหน้าไว้

โปรดทราบ:

กรณีขอใช้สิทธิเทียบโอนหน่วยกิตจะได้ไม่ได้รับเกียรตินิยม เว้นแต่นักศึกษา Pre-degree ซึ่งสมัครเรียนต่อเนื่อง เมื่อจบชั้น ม.6 แล้ว และเรียนจบการศึกษาภายใน 4 ปีการศึกษา นับตั้งแต่เป็นนักศึกษา Pre-degree

หลักฐานการสมัคร

รูปถ่าย 1.5 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ชุดสุภาพเรียบร้อย สวมเสื้อคอปก)
วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า ให้ถ่ายสำเนาหนังสือแสดงคุณวุฒิ (ร.บ.1 หรือ ปพ.1) *กรณีสมัคร Pre-degree ใช้วุฒิ มัธยมศึกษาตอนต้น ม.3 หรือเทียบเท่า จำนวน 2 ฉบับ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ (ยังไม่หมดอายุ) (กรณีใช้คำนำหน้านามเป็น ยศ ให้แนบสำเนาบัตรข้าราชการ)
ใบรับรองแพทย์ (เฉพาะผู้สมัครระดับปริญญาตรี)
กรณีเป็นพระภิกษุสามเณร ให้ส่งสำเนาใบสุทธิ หน้า 2, 3 , 4, 5 หรือแนบใบรับรองการอุปสมบทแทน จำนวน 2 ฉบับ
หากมีการเปลี่ยนชื่อ, คำนำหน้า, ยศ ให้แนบสำเนาการเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล, เท่ากับจำนวนวุฒิที่ใช้สมัคร

โปรดทราบ:

ในกรณีใช้คุณวุฒิต่างประเทศ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ผู้สมัครติดต่อที่สำนักคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ผู้สมัครติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายรับสมัครและแนะแนวการศึกษา อาคาร สวป. ชั้น 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนการรับสมัครหรือติดต่อผู้ประสานงาน การสมัครในวันที่มาดำเนินการสมัครเป็นนักศึกษา ส่วนในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้ไปติดต่อขอใบเทียบความรู้ที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก่อนวันที่มาดำเนินการสมัครเป็นนักศึกษา และผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการจัดส่งเอกสารไปตรวจสอบยังสถานศึกษาต้นสังกัด รายละ 1,000 บาท ในวันสมัคร

กรณีเทียบโอนหน่วยกิต

รูปถ่าย 1.5 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป (ชุดสุภาพเรียบร้อย สวมเสื้อคอปก)
วุฒิ อนุปริญญาขึ้นไปหรือเทียบเท่า สถาบันการศึกษาอื่น ให้ถ่ายสําเนาวุฒิการศึกษา (Transcript) จํานวน 4 ฉบับ
วุฒิจากมหาวิทยาลัยรามคําแหง กรณีปริญญาที่ 2 ให้ถ่ายสําเนา Transcript 4 ฉบับ
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ยังไม่หมดอายุ (จำนวน 1 ฉบับ)
ใบรับรองแพทย์
กรณีนักศึกษา 8 ปี สมัครใหม่หรือหมดสถานภาพจาก ม.รามคำแหง ให้สำเนาวุฒิเดิมที่เคยสมัคร 2 ฉบับ และใบแสดงผลการเรียน Transcript (ฉบับจริง) จำนวน 1 ฉบับ หรือใช้ผลการเรียนจากระบบ e-Service ได้เป็นการชั่วคราว
กรณีย้ายโอนจากสถานศึกษาอื่น (ไม่สำเร็จการศึกษา) ใช้สำเนาวุฒิ ม.ปลายหรือเทียบเท่าจำนวน 2 ฉบับ และใบแสดงผลการเรียน Transcript (ฉบับจริง) จำนวน 1 ฉบับ, คำอธิบายรายวิชาจากสถานศึกษาเดิมและหลักฐานการลาออกจากสถานศึกษาเดิมอย่างละ 1 ฉบับ
กรณีผู้ที่เคยสมัครเรียนเป็นรายกระบวนวิชา (เทียบโอน Pre-degree) ให้สำเนาวุฒิ ม.ปลาย หรือเทียบเท่า จำนวน 2 ฉบับ และใบแสดงผลการเรียน Transcript (ฉบับจริง) จำนวน 1 ฉบับ หรือใช้ผลการเรียนจากระบบ e-Service ได้เป็นการชั่วคราว
กรณีวุฒิต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษต้องแนบฉบับแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษจากสถาบันการแปลที่ผ่านการรับรอง และใบเทียบระดับความรู้ด้วย และแนบฟอร์มที่อยู่สถานศึกษาของวุฒิที่ใช้สมัคร (School Address) แบบฟอร์มยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและสิทธิทางการศึกษา (Authorization Form) พร้อมลงชื่อผู้สมัคร
สำเนาการเปลี่ยนแปลงชื่อ –สกุล, คำนำหน้านาม, ยศ, ทะเบียนสมรส ฯลฯ (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง) เท่ากับจำนวนวุฒิที่ใช้สมัคร
กรณีใช้คำนามหน้านามอย่างอื่น เช่น ยศ ให้แนบบัตรข้าราชการและคาสั่งแต่งตั้งยศที่เป็นปัจจุบัน
กรณีเป็นพระภิกษุสามเณร ให้ส่งสำเนาใบสุทธิ หน้า 2, 3 , 4, 5 หรือtแนบใบรับรองการอุปสมบทแทน จำนวน 2 ฉบับ

โปรดทราบ:

ถ่ายสำเนาเอกสารทุกฉบับขนาด A4 เท่านั้น ให้ผู้สมัครเป็นผู้ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองทุกฉบับ

ตัวอย่างเอกสารที่ใช้ในการสมัคร

(กรณีสมัครเรียนทางอินเตอร์เน็ต)

บริการที่นักศึกษา ควรรู้
Download
ปฏิทินการศึกษา ภาค 1 ปีการศึกษา 2567
ศูนย์สอบส่วนภูมิภาค (41 แห่ง)

Scroll to Top